วิธีการลดเลือนจุดด่างดำแห่งวัย

เมื่อเผชิญแสงแดด มลภาวะ ปัจจัยภายนอกและภายในที่ทำลายผิว ทำให้เกิดโทนสีผิวไม่สม่ำเสมอ การใช้สกินแคร์ที่มีส่วนผสมของวิตามินซีสามารถฟื้นบำรุงและลดเลือนจุดด่างดำเหล่านั้นได้

ก่อนอื่น อะไรคือจุดด่างดำกันแน่

จุดด่างดำหรือที่หลายๆคนรู้จักกันว่าเป็นจุดด่างบนผิวหนัง ฝ้าตามอายุ หรือ กระแดด ล้วนเป็นผลจากวัยที่มากขึ้น การเผชิญแสงยูวี สิว ฮอร์โมน พันธุกรรม การสูบบุหรี่ หรือมลพิษ สีผิวที่คล้ำขึ้น เกิดจากปริมาณเมลานินที่มากเกินไป โดยมีการสร้างเม็ดสีผิวน้ำตาลสะสมในชั้นผิวหนัง ส่งผลให้สภาพผิวเปลี่ยนไป
จุดเริ่มต้นของจุดด่างดำเกิดขึ้นครั้งแรกบนผิวหนังในช่วงวัยกลางคน และจะค่อยๆ เพิ่มขนาดและจำนวนขึ้นเมื่อเวลาผ่านพ้นไป

สาเหตุของจุดด่างดำ

การสร้างเมลานินบนเซลล์ผิวหนัง (เมลาโนไซต์) ที่เพิ่มขึ้นและค่อยๆ สะสมในชั้นผิวหนัง หรือที่เรียกว่า รอยดำ นั้น เกิดจากหลายสาเหตุ เมื่อเวลาผ่านไปหลายปี ผลจากการเผชิญแสงยูวีที่สะสมในทุกๆ วัน รวมทั้งมลพิษและฮอร์โมน ล้วนส่งผลให้เกิดการผลิตเมลานินเพิ่มขึ้น ทำให้จุดด่างดำยิ่งดูชัดเจนมากขึ้น เมื่อเผชิญกับรังสียูวี ผิวหนังจะผลิตเมลานินขึ้นมาเพื่อปกป้องผิวจากแสงแดด ทำให้สีผิวค่อยๆ คล้ำขึ้น ในที่สุด เมลานินจะค่อยๆ สะสมตัวและกลายเป็นจุดด่างดำถาวรที่ปรากฎบนผิว ดังนั้น แสงแดดจึงเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดจุดด่างดำขึ้น
การเปลี่ยนแปลงของสีผิวอันเกิดจากรังสียูวีนั้น ส่วนใหญ่มาจากการก่อตัวของอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุให้โครงสร้างและการทำงานของเซลล์เสื่อมสภาพ (lipid peroxidation) DNA ได้รับความเสียหาย (oxidative stress) หรือแม้แต่กระทั่งโปรตีนในชั้นผิวหนัง นำไปสู่การเสื่อมถอยของยีนส์บางชนิดที่เป็นตัวควบคุมสีผิว (แหล่งที่มา: นิกิ, 2534). กระบวนการที่ผิวหนังแลดูมีอายุมากขึ้น – ต้นเหตุจากแสงแดด ยังส่งผลให้เกิดริ้วรอยก่อนวัย รวมทั้งฝ้ากระ(1).

วิธีป้องกัน: การปกป้องผิวจากรังสียูวี

เป็นเวลาหลายทศวรรษที่ค่านิยมของโลกตะวันตกหลงใหลในสีผิวแทน แต่ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1930 มีผู้เชี่ยวชาญได้ออกมาเตือนถึงผลลบในระยะยาวของแสงแดดที่ส่งผลให้ผิวหนังเหี่ยวย่น ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา มีงานวิจัยจำนวนมากยืนยันถึงผลเสียดังกล่าว: ด้วยการพิสูจน์ว่า เมื่อผิวหนังต้องเผชิญกับแสงแดดโดยปราศจากการปกป้องใดๆ จะทำให้เซลล์ผิวหนังถูกทำลาย ไม่ว่าจะเป็นผลที่พบได้ทันทีอย่างเช่น อาการผิวไหม้ หรือผลในระยะยาวอย่างฝ้ากระ(2). การใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่มีส่วนผสมของการเสริมสร้างเกราะป้องกันและฟื้นบำรุงผิวหนัง และช่วยกระตุ้นเกราะป้องกันและลดเลือนจุดด่างดำที่มาพร้อมอายุที่มากขึ้น(3).  เมื่อจุดด่างดำปรากฎขึ้น คุณอาจพบว่า’s มันสายไปเสียแล้วในการป้องกันแสงแดด และฟื้นผิวให้กลับมาเป็นดังเดิม แต่ในความเป็นจริง เมื่อผิวหนังได้รับการปกป้องจากแสงแดด เซลล์ผิวหนังจะสามารถกลับมาเหมือนเดิมตามธรรมชาติ

 

วิตามินซีและร่างกาย

มีวิตามิน 13 ชนิดที่จำเป็นต่อร่างกาย และวิตามินที่สำคัญสำหรับผิวก็คือวิตามินซี หรือกรดแอสคอร์บิก ซึ่งเป็นสารแอนตี้ อ๊อกซิแดนท์ ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ วิตามินซีเป็นที่รู้จักกันดีในด้านคุณสมบัติหลากหลาย เป็นสารแอนตี้อ๊อกซิแดนท์ ที่สำคัญอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อผิวหนัง (4) และจุดด่างดำ
ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถผลิตโมเลกุลวิตามินซีได้เอง ดังนั้น จึงต้องดูดซึมผ่านแหล่งต่างๆ เช่น ผลไม้รสเปรี้ยว ผักใบเขียว และผลเบอร์รี่บางชนิด (6) ทั้งนี้อายุที่มากขึ้น ผลกระทบจากแสงแดด และมลภาวะอาจทำให้ขาดวิตามินซีได้

วิตามินซีและผิว

ในการลดเลือนริ้วรอยแห่งวัย ให้มองหาผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่มีวิตามินซี เพราะวิตามินซีจะช่วยลดเลือนจุดด่างดำที่เกิดจากรังสียูวี ซึ่งเป็นวิธีผลัดเซลล์ผิวตามธรรมชาติอย่างอ่อนโยนอีกด้วย วิตามินซีช่วยลดเลือนจุดด่างดำด้วยสองวิธีหลัก: วิตามินซีมีคุณสมบัติแอนตี้ อ็อกซิแดนท์ ช่วยฟื้นบำรุงผิว พร้อมกับช่วยป้องกันความเสียหายที่เกิดจากรังสียูวี ลดการเกิดจุดด่างดำความหมองคล้ำผิว(7)

ผลัดเซลล์ผิวทุกสัปดาห์เพื่อลดเลือนริ้วรอยแห่งวัย

การผลัดเซลล์ผิวจะช่วยปรับสีผิวให้สม่ำเสมอได้ โดยการขจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว ผลัดเซลล์ผิวเป็นประจำด้วยสารที่มีส่วนประกอบของวิตามินซีจะทำให้ผิวดูเรียบเนียนขึ้น และช่วยให้ ส่วนผสมทรงประสิทธิภาพต่างๆในสกินแคร์ซึมซาบเข้าสู่ผิวได้ดียิ่งขึ้นด้วย (8)

แหล่งที่มา:
1. Telang, P.S. 'Vitamin C in dermatology' in Indian Dermatology Online Journal 4.2 (2013) pp. 143-146
2. Vashi, N.A. et al, 'Aging Differences in Ethnic Skin' in The Journal of Clinical and Aesthetic Dermatology (2016) pp. 31-38
3. Darr et al: Protecting activity on cutaneous structures exposed to UV (1992)
4. Farris, P.K. ‘ Cosmetical Vitamins: Vitamin C’, in Procedures in Cosmetic Dermatology. 2nd ed. New York: Saunders Elsevier (2009) pp. 51–6.
5. Geesin et al Dossier Roche Collagen I and III synthesis (2002)
6. Lykkesfeldt, J. 'Vitamin C' in Advances in Nutrition 5.1 (2014) pp. 16-18
7. Farris, P.K. ‘ Cosmetical Vitamins: Vitamin C’, in Procedures in Cosmetic Dermatology. 2nd ed. New York: Saunders Elsevier (2009) pp. 51–6.
8. Rashmi, S. et al, ‘Cosmeceuticals for Hyperpigmentation: What is available?’ in Journal of Cutaneous and Aesthetic Surgery 6.1, (2013) pp. 4-11