ความรู้สึกคันผิว* ผิวแห้ง...*เปลี่ยนแปลงอย่างไรเมื่อถึงวัยหมดประจำเดือน?

วัยหมดประจำเดือนมักมาพร้อมกับอารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ และความรู้สึกไม่สบายผิว เช่น คันผิว*หรือผิวแห้ง ตรงกับความรู้สึกของคุณใช่หรือไม่? บทความนี้จะช่วยคลายข้อสงสัยและมอบเคล็ดลับการดูแลผิวที่ตรงจุด

ดร. แอนน์ เลอ พิลเลาเออร์

แพทย์ผิวหนัง

การเปลี่ยนแปลงของผิวในช่วงวัยหมดประจำเดือน ในขณะที่รังไข่ผลิตเอสโตรเจนน้อยลง

นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นกับผิวของคุณ หรือพูดให้ชัดเจนขึ้นก็คือ สิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นอีกต่อไป

เอสโตรเจน โดยเฉพาะ 17-เอสตราไดออล เป็นสารแอนตี้ออกซิแดนท์ที่ทรงพลัง และความไม่สมดุลของสารเหล่านี้จะทำให้เซลล์เสียหายโดยมีความเกี่ยวข้องกับภาวะเครียดทางออกซิเดชัน (ความไม่สมดุลของอนุมูลอิสระ และสารแอนตี้ออกซิแดนท์)(1) โดยทั่วไปแล้ว ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลงจะทำให้มีปริมาณสารอนุมูลอิสระที่เกินกว่าระดับสารแอนตี้ออกซิแดนท์ที่เป็นส่วนหนึ่งของเอสโตรเจนจะรับมือได้ และนี่คือกุญแจสำคัญเพื่อทำความเข้าใจว่าผิวมีการเปลี่ยนแปลงไปตามอายุอย่างไรบ้าง

ผิวหนังเป็นอวัยวะแรกที่ได้รับผลกระทบจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลงในช่วงวัยหมดประจำเดือน

เกิดอะไรขึ้นกับเซลล์ผิว และชั้นเนื้อเยื่อที่ปกป้องผิวหนังกันแน่

ระดับเอสโตรเจนที่ลดลง และอนุมูลอิสระที่เพิ่มขึ้นก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ประเภทต่างๆ ซึ่งรวมไปถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างเซลล์เหล่านั้น และชั้นของเนื้อเยื่อที่เซลล์วิวัฒนาการขึ้นมา: เมทริกซ์นอกเซลล์

ผิวหนังนั้นได้รับผลกระทบหลายประการ และนี่คือผลกระทบบางส่วน:

•    ผิวหนังบางลง และกลไกการป้องกันบนคีราติโนไซต์ ที่สร้างผิวชีั้นนอกจะลดลง
•    การสร้างไฟโบรบลาสต์ของผิวหนังลดลง ซึ่งส่งผลต่อการผลิตเมทริกซ์นอกเซลล์ และมีการสังเคราะห์ (คอลลาเจน) ลดลง
•    การกระตุ้นการย่อยสลายของเอนไซม์บนเมทริกซ์นอกเซลล์ที่ส่งผลกระทบต่อคอลลาเจน และอีลาสตินเป็นอย่างมาก (โปรตีนเมทัลโลโปรติเอส)
•    การผลิตน้ำมันลดลง
•    ผิวหนังมีความชุ่มชื้นน้อยลง
•    การเปลี่ยนแปลงของการไหลเวียนในหลอดเลือดฝอย (การไหลเวียนโลหิต) ซึ่งก่อให้เกิดอาการร้อนวูบวาบ และทำให้มีการขนส่งออกซิเจน และสารอาหารเข้าสู่เซลล์น้อยลง
•    ความหนาแน่นของเส้นผมที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งก่อให้เกิดผมร่วง
•    มีเซลลูไลท์ปรากฏขึ้นมา
•    แผลเป็นหายช้าลง

โดยทั่วไปแล้ว ความชราของผิวหนังที่เกิดจากปัจจัยภายใน หรือการเสื่อมตามอายุจะลดการผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนลง ซึ่งส่งผลให้ผิวหนังมีริ้วรอยร่องตื้น บางลง เปราะบางขึ้น และ หมองคล้ำ
กระบวนการนี้เกิดขึ้นค่อนข้างเร็ว และมักจะสังเกตเห็นได้หลังจากวัยหมดประจำเดือนไปแล้ว 5 ปี ซึ่งหากไม่มีการดูแลรักษาเพิ่มเติมใดๆ อาจส่งผลให้เกิดการสูญเสียโครงสร้างโปรตีนในผิวหนังของเราถึง 30%(2)

การเสื่อมสภาพของผิวหนังที่เกิดจากปัจจัยภายนอกอันเนื่องมาจากการสัมผัสกับรังสี UV มลภาวะ และการสูบบุหรี่ยังอาจก่อให้เกิดภาวะเครียดทางออกซิเดชัน ซึ่งส่งผลให้เกิดริ้วรอยลึก และจุดด่างดำจากวัยที่เพิ่มขึ้นได้อีกด้วย

ประเด็นสำคัญที่ควรจดจำ
• การลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจน (การลดลงของสารแอนตี้ออกซิแดนท์ที่มีประสิทธิภาพ) ในช่วงวัยหมดประจำเดือนจะทำให้ผิวเสื่อมสภาพมากขึ้น
• ในช่วงวัยหมดประจำเดือนนั้น ผิวจะ: ชุ่มชื้นน้อยลง ยืดหยุ่นน้อยลง หนาทึบขึ้น มีริ้วรอยร่องตื้นปรากฏขึ้น สภาพผิวโดยรวมจะบางลง เปราะบางขึ้น และมีความกระชับน้อยลง

แหล่งที่มา:
1. The role of estrogen in cutaneous ageing and repair.
Wilkinson HN, Hardman MJ.
Maturitas. 2017 Sep;103:60-6

2. Symptoms of menopause - global prevalence, physiology and implications.
Monteleone P, Mascagni G, Giannini A, Genazzani AR, Simoncini T.
Nat Rev Endocrinol. 2018 Apr;14(4):199-215